ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่สะท้อนถึงความห่วงใยของพระองค์เรื่องภาษาไทย โดยทรงชี้แนะพสกนิกรของพระองค์ให้ ตระหนักถึงความสำคัญของภาษา และการช่วยกันธำรงรักษาวัฒนธรรมทางภาษาที่ดีงามของ ชาติไว้มิให้เสื่อมสูญ ดังความตอนหนึ่งว่า “ภาษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบ้านเมือง ขอให้ร่วมมือกันรักษามาตรฐานของภาษาไทยไว้อย่าให้ทรุดโทรม” (อ้างถึงใน พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์, ๒๕๓๘ : คำนำ)
ภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร ในชีวิตประจำวันของคนไทย ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นลืมตาจนกระทั่งนอนหลับ เราต้องใช้ภาษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องถือว่า คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่บรรพบุรุษของเรามีความชาญฉลาด สามารถประดิษฐ์คิดค้นภาษาของตนเองขึ้นใช้ทั้งภาษาพูด และภาษาที่เป็นตัวอักษรใช้แทนเสียง ภาษาไทยจึงเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ บรรพบุรุษได้สร้างไว้และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้น เราในฐานะลูกหลานไทยจึงควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติมากว่า ๗๐๐ ปี และภาษาไทยจะยังคงยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ช่วยกันธำรงรักษาและพัฒนาภาษาไทยไว้มิให้ผันแปรไปในทาง เสื่อมโทรมลงไป ดังกระแสพระราชดำรัสที่อัญเชิญมาข้างต้นแล้ว
ลักษณะเด่นของภาษาไทย
ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะที่เป็นของตนเอง แตกต่างจากภาษาอื่น ๆ หลายประการดังนี้
๑. ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรง-ประดิษฐ์ลายสือไทขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ อันเป็นต้นกำเนิดอักษรไทย จากนั้นอักษรไทย จึงได้วิวัฒนาการเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตนเองหลายประการดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น